00
0
No products in the cart.

Welcome to MartFury Online Shopping Store!

Shopping Cart

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทย - Thailand Certify

Dec 17, 2024 / By Worachet Saengprab / in Thailand-China : News and Activities

สมเด็จพระสังฆราช   

“ประมุขแห่งคณะสงฆ์ของประเทศไทย”  

  • คำว่า "สังฆราช" แปลว่า ราชาของสงฆ์ ราชาของหมู่คณะ   
  • สมเด็จพระสังฆราช หมายถึง พระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล (วงการคณะสงฆ์) และทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์  
  • ตำแหน่งนี้มีที่มาจาก คณะสงฆ์ไทยที่นำแบบอย่างมาจากลัทธิลังกาวงศ์ นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย เมื่อครั้งที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่จากลังกาที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย สืบต่อกันมายังสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ราชอาณาจักรไทยปัจจุบัน) ตามลำดับ นับเป็นเวลากว่า 700 ปี  
  • พระมหากษัตริย์ ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช  
  • ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่10 (รัชกาลปัจจุบัน) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระมหาเถระได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้วทั้งสิ้น 20 พระองค์  
image-4.png

 

อำนาจหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราช  

ตามกฎหมายสมเด็จพระสังฆราช มีฐานะทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอำนาจบัญชาการคณะสงฆ์โดยพระองค์เองได้ และในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ย่อมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนาทั้งหมด  

blog-thailand-certify.png

 

ประเทศไทย 

มี 80,000 หมู่บ้าน 

แต่ 

มีวัด 44,000 แห่ง 

image-5.png

 

วันสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช  

นับแต่พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้สำนักพระราชวังจัดพิธีการโดยกำหนดวัน เวลา และรายการตามพระราชประเพณีขึ้น ท่ามกลางสังฆมณฑล ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นประกอบพิธีเจริญชัยมงคลคาถา และลั่นระฆังทุกวัดทั่วประเทศในช่วงเวลาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายน้ำแด่สมเด็จพระสังฆราชด้วยพระมหาสังข์ทักษิณาวรรต (หอยสังข์ที่เวียนไปทางด้านขวา ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถือเป็นสิ่งมงคล)  

image-6.png

และถวายพระสุพรรณบัฏ คือ “ลานทอง” มีลักษณะเป็นแผ่นทองคำบาง ๆ ทำตามอย่างใบลานที่ใช้ในการจดจารหนังสือและพระธรรมคัมภีร์ โดยนำทองคำไปแผ่ให้มีรูปร่างและความยาวเท่า ๆ กับ ใบลานและจารตัวอักษรเป็นพระนามเต็ม ชื่อพระอารามที่สถิต และข้อความอีกเล็กน้อย พร้อมถวายพระตราตำแหน่ง พัดยศ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตามโบราณราชประเพณี   

image-7.png

 

เส้นทางการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช  

องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  

  • 11 กรกฎาคม 2559 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 หากยังมีปัญหากันอยู่  
  • 29 ธันวาคม 2559 - ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติสามวาระรวดแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ให้พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม และไม่จำเป็นต้องเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุด ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 182 เสียง  
  • 6 มกราคม 2560 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นฉบับใหม่ ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที  
  • 7 กุมภาพันธ์ 2560 - สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  
blog-thailand-certify-1.png

 

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ 
สมเด็จพระสังฆราช 
สกลมหาสังฆปริณายก 
(อัมพร อัมพโร) 

 

image-8.png
image-10.png
image-11.png
image-12.png
image-13.png
image-14.png
image-15.png
image-16.png
image-17.png
image-18.png
image-19.png
image-20.png
image-21.png
image-22.png
image-23.png

 

สมเด็จพระสังฆราช    
(อัมพร อัมพโร)    
เจ้าอาวาส    
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร  

 

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412 มีพิธีก่อพระฤกษ์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2412 

มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ “ราชบพิธ” หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง บพิธ คำนี้มาจากภาษาบาลีคือ ปวิธะ ที่แปลว่าสร้าง ส่วน “สถิตมหาสีมาราม” หมายถึง พระอารามซึ่งมีสีมากว้างใหญ่ เป็นมหาสีมาล้อมรอบอาณาเขตของวัด

ตั้งอยู่บริเวณถนนเฟื่องนคร แขวง วัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8aae0b896e0b8b4e0b895e0b8a1e0b8abe0b8b2e0b8aae0b8b5e0b8a1e0b8b2e0b8a31.jpg?w=640

 

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล

  • วัดประจำพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงรัตน์โกสินทร์ ประกอบด้วย รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9

  • วัดที่ประทับสังฆราช ถึง 3 พระองค์

1) พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า 

  • ทรงดำรงตำแหน่ง ระหว่าง พ.ศ 2444 ถึง พ.ศ 2480

2) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ์ (วาสน์ วาสโน) 

  • ทรงดำรงตำแหน่ง ระหว่าง พ.ศ 2489 ถึง 2531 

  • ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอสราธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2521

3) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 

  • ทรงดำรงตำแหน่ง ระหว่าง พ.ศ 2551 ถึง ปัจจุบัน 

  • ทรงเป็นปฐมสกลมหาสังฆปริณายกในแผ่นดินรัชกาลที่ 10   

  • ทรงเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตรุ่นแรก นำพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทไปเผยแผ่ที่นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย โดยขณะที่ยังประทับอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็ได้มีโอกาสพบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ขณะทรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และการพบกันครั้งนี้ก็ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสสมเด็จพระสังฆราชเรื่อยมา
blog-thailand-certify-2.png
blog-thailand-certify-4.png

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว   
รัชกาลที่ 10 ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ”  
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ (wat Buddharangsee Stanmore)
นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย  

ในภาพ : องค์ที่ 3 จากขวา คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)   
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระปริยัติกวี”

แหล่งอ้างอิง : 

  • สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  
    (National Office of Buddhism) 
    https://www.onab.go.th

  • ลานธรรมจักร     
    http://www.dhammajak.net