Welcome to MartFury Online Shopping Store!
Feb 21, 2025 / By Worachet Saengprab / in Thailand-China : News and Activities
พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกปูชนียมงคล เนื่องในศุภมงคลสมัย 150 ปี แห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
วันเสาร์ ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2563
ในโอกาสฉลองครบรอบ 150 ปีแห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2563 วัดได้จัดพิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกปูชนียมงคลวัตถุ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานในพิธี พิธีนี้จัดขึ้นในพระอุโบสถของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระเถราจารย์จากทั่วประเทศมาร่วมเจริญจิตภาวนา
ในพิธีดังกล่าว ได้มีการจำลองพระพุทธอังคีรส พระนิรันตราย พระพุทธรูปหลวงพ่อนาค และสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาและเป็นอนุสรณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณ
ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อนำฤกษ์ในการสร้างปูชนียมงคลวัตถุเหล่านี้
พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานมรดกทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาติ
ในโอกาสฉลองครบรอบ 150 ปี แห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2563 วัดได้จัดสร้างวัตถุมงคลพิเศษหลายรายการ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาและเป็นอนุสรณ์แห่งความศรัทธา
หนึ่งในวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นคือ "เหรียญหลวงพ่อนาค" เนื้อทองแดงรมดำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.3 ซม. ซึ่งจัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสพิเศษนี้
เหรียญหลวงพ่อนาค รุ่น ฉลอง 150 ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
“พระพุทธรูปนาคปรก” หรือ “หลวงพ่อนาค” องค์นี้จำลองจากพระพุทธรูปนาคปรกที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระเจดีย์ของวัด เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินทรายศิลปะสมัยลพบุรี หรือ ศิลปะสมัยภาคกลางของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 เดิมประดิษฐานอยู่ที่ศาลาใกล้ต้นตะเคียนบริเวณคลองคูเมืองเดิมใกล้วัดราชบพิธ และได้อัญเชิญมาประดิษฐานศาลาหน้าพระอุโบสถ เล่ากันว่า พระนาคปรกองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้คนมากราบไหว้ขอพร แล้วสมหวังเป็นจำนวนมาก จากนั้นมีการปรับปรุงศาลาบริเวณหน้าพระอุโบสถ จึงได้ย้ายมาประดิษฐานอยู่ภายในพระเจดีย์ เมื่อพุทธศักราช 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกนพปฎลมหาเศวตฉัตรที่เคยกางกั้นพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ อีกด้วยคราวงานสมโภชพระอารามเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามได้เปิดให้เข้ากราบสักการะและชมความงดงามของ “หลวงพ่อนาค” มีประชาชนพากันมากราบสักการะขอพรกันเป็นจำนวนมาก
และอีกหนึ่งวัตถุมงคลยอดนิยมที่จัดสร้างขึ้นพร้อมกันนี้คือ “ พระหูยาน จ.ป.ร”
พระหูยาน จ.ป.ร. รุ่น ฉลอง 150 ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
พระหูยาน เป็นพระเครื่องศิลปะขอม อายุกว่า 700 ปี ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับบนกลีบบัว พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยม พระโอษฐ์แบะ ลักษณะเคร่งขรึม พระกรรณยานจรดพระอังสา แสดงถึงญาณอันแก่กล้า พระหูยานมีต้นกำเนิดจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อกรุแตกราวพุทธศักราช 2450 เป็นที่เลื่องลือถึงความงดงามด้านพุทธศิลป์และความศักดิ์สิทธิ์ ต่อมากรุแตกอีกครั้งราวพุทธศักราช 2508 จึงมีพระหูยานกรุเก่า และกรุใหม่ สำหรับสักการบูชาเป็นพุทธานุสสติ
เมื่อศุภมงคลสมัย 100 ปี แห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พุทธศักราช 2513 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ เจ้าอาวาสในขณะนั้น โปรดให้สร้าง “พระหูยาน จ.ป.ร.” เป็นครั้งแรก ด้านหน้ามีลักษณะเช่นเดียวกับพระหูยานโดยทั่วไป ด้านหลังมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระหูยาน จ.ป.ร. ในครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือด้วยพุทธคุณของพระหูยาน และพิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน โดยพระเถราจารย์ผู้มีชื่อเสียง เล่ากันว่า มีผู้ทดลองยิง “พระหูยาน จ.ป.ร.” ครั้งแรกยิงไม่ออก ครั้งต่อมาเกิดเสียงระเบิดขึ้น พบว่าปากกระบอกปืนมีรอยแตก จึงมีชื่อเรียกลำลองว่า “รุ่นปืนแตก”
ลุศุภมงคลสมัย 150 ปี แห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พุทธศักราช 2563 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานสมโภชพระอาราม ฯ จึงจัดสร้าง “พระหูยาน จ.ป.ร.” ด้านหลังมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” และตัวเลข 2563 ซึ่งเป็นปีพุทธศักราชที่สร้าง เพื่อเป็นปูชนียานุสรณ์ในศุภมงคลสมัยนี้
Mar 01, 2025 by Worachet Saengprab
Feb 25, 2025 by Worachet Saengprab